กองทัพอากาศ บทความ

กำเนิดฝูงบินวิหคสายฟ้า (Thunderbirds)

ฝูงบินผาดแผลง Thunderbirds นั้นเคยมาแสดงโชว์ที่เมืองไทย ณ สนามบินดอนเมือง ทั้งหมด 3 ครั้งแล้ว  โดยการมาครั้งแรกนั้นมาในวันที่ 28 กันยายน 2530 ครั้งที่ 2 เมื่อ 15 สิงหาคม 2537 และครั้งล่าสุดเมื่อ 10 ต.ค. 2552 ซึ่งการแสดงทั้ง 3 ครั้งนั้นเป็นการแสดงโชว์โดยใช้เครื่องบินแบบ F-16 ทั้งสิ้น (แต่ทุกครั้งจะเป็น F-16 คนละรุ่น คนละ Blcok ครั้งแรกนั้นใช้เครื่อง F-16 A/B ครั้งที่2 เป็น F-16 C/D Block32  และครั้งล่าสุดเป็น F-16 C/D Block 52 ซึ่งในครั้งนั้นพึ่งเป็นการเปลี่ยนจาก Block32มาเป็นแบบ Block 52 เป็นครั้งแรกด้วย) แต่ก่อนหน้าปี 2552 นั้นเคยมีจะการแสดงโชว์แต่ได้ยกเลิกไปเพราะติดภารกิจถล่มบินลาเดน และล่าสุดเมื่อไม่กี่ปีมานี้  เพราะปัญหาเรื่องงบประมาณ(ในช่วงประธานาธิดีโอบาม่า ที่มีปัญหากับสภาครองเกสจนไม่มีการอนุมัติงบประมาณบริหารประมาณระยะหนึ่ง เลยเป็นผลกระทบให้ต้องมีการยกเลิกการแสดงโชว์ในปีนั้นครับ)

ประวัติการก่อตั้งฝูงบินผาดแผลงนี้ เอาคร่าวๆจากความจำก็คือ คำว่าThunderbirs นั้นมีชื่อจากตำนานโบราณอินเดียนเป็นสัญลักษณ์ของนกชนิดหนึ่งที่เชื่อกันว่าทำให้เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่าตลอดเวลา จึงถือเป็นตัวนำโชคที่จะนำมาสู่ชัยชนะในการทำสงคราม ทางกองทัพอากาศสหรัฐจึงได้ใช้ชื่อนึ้ การแสดงครั้งแรกของฝูงบินเริ่มขึ้นที่รัฐนิวเม็กซิโก เมื่อพ.ศ.2496 โดยใช้เครื่องบิน

F-84 G”ธันเดอร์เจ๊ท”

และเปลี่ยนไปเป็น F-84″ธันเดอร์สตรีค”

จากนั้นก็เปลี่ยนเป็น T-33 A

 

ซึ่งเป็นเครื่องความเร็วต่ำกว่าเสียงจนถึงปี 2499 ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องบินที่มีความเร็วเหนือเสียง

เช่น F-100

 

F-105 B

 

F-4 E

 

และ T-38 A

การเปลี่ยนชนิดของเครื่องบินนั้นเป็นไปตามความเหมาะสมของสภาพการณ์รวมทั้งประสิทธิภาพของการบิน จนในที่สุดได้เปลี่ยนมาใช้เครื่อง F-16 A เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2525

ซึ่งการที่นำเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพสูงมาบินโชว์นั้น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมอุปกรณ์บางอย่างที่จำเป็นเข้าไปโดยถอดเรด้าร์,ปืนใหญ่อากาศพร้อมถังบรรจุกระสุนและแผงติดอาวุธออกทั้งหมด แล้วใส่เครื่องพ่นควันที่ติดอยู่ บริเวณด้านซ้ายของเครื่องของท่อไอเสียเข้าไป

แล้วถ้าเกิดต้องเปลี่ยนจากเครื่องที่แสดงโชว์ไปเป็นเครื่องสำหรับพร้อมรบละ ทางกองทัพอากาศสหรัฐสามารถที่จะแปลงโฉมและติดอุปกรณ์ทั้งหมดที่ถอดออกรวมถึงเปลี่ยนสีเครื่อง โดยใช้เวลา 72 ชั่วโมง เครื่องทั้งหมดก็กลับมาเป็นเครื่องพร้อมรบได้ทันที

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

9 + 14 =