บทความ

เสี้ยวหนึ่งของยุทธนาวีสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อังกฤษไม่อยากจำ

ถ้าเอ่ยถึงยุทธนาวีในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ทางด้านยุโรปแถบมหาสมุทรแอตแลนติกส่วนใหญ่จะนึกถึง การรุมถล่มเรือประจัญบานบิสมาร์คมากกว่า แต่มีอยู่เหตุการณ์นึงซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผมมองว่าเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมากแต่ส่วนมากคนมักจะมองข้ามหรือบางคนแทบจะไม่รู้เรื่องเลยกับเหตุการณ์นี้ เพราะเป็นการกระทำที่ถือว่ายอดเยี่ยมมากของกองทัพเรือเยอรมัน และเป็นการกระทำที่เหมือนเหยีบหน้าอังกฤษ ที่หน้าบ้านของอังกฤษเอง ซึ่งกองเรือของเยอรมันได้แล่น ฝ่าช่องแคบอังกฤษโดยที่อังกฤษกว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไป เพราะกองเรือได้แล่นฝ่าไปได้อย่างเรียบร้อยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ไมเคยมีข้าศึกของอังกฤษทำมาได้ก่อนเลยในรอบ 300 ปี

การกระทำครั้งนี้ ถือว่าเป็นการวางแผนที่ยอดเยี่ยมของฝ่ายเยอรมัน โดยที่กองเรือที่แล่นฝ่าเข้าไปใกล้อังกฤษนั้น มีเรือประจัญบานอยู่ถึง 2 ลำ ซึ่งและเรือลาดตระเวณ 1 ลำซึ่งเรือทั้ง 3 ลำนั้นสัมพันธมิตรต่างหาทางที่จะจมให้ได้มาตั้งนานแล้วโดยเรือทั้ง3 ลำนี้ประกอบด้วย เรือ ประจัญบานSharnhorst, เรือประจัญบานGneisenau,และเรือลาดตระเวณหนัก Prinz Eugen

ซึ่งเรือทั้ง 3ลำก่อนหน้านี้ได้เข้าไปจอดที่เมืองเบรสต์ประเทศฝรั่งเศส เพื่อจะหาโอกาสเล็ดลอดไปสู่มหาสมุทรแอตแลนติก พอฝ่ายสัมพันธมิตรรู้ข่าวหลังจากที่ค้นหาอยู่ตั้งนานเพราะอยู่ดีทั้งเรือSharnhorstและเรือGneisenauได้หายไปเฉยๆหลังจากได้ทำการรังควานเรือพาณิชย์ของอังกฤษ อยู่ 2เดือน โดยอังกฤษเสียเรือไป 20 ลำ น้ำหนักรวมแล้วกว่าแสนตันเศษ แต่พอปลายเดือน ก.พ. 1941 ก็หายไปเฉยๆ โดยเรือทั้ง 2 ลำได้เข้าไปเทียบท่าทีเมืองเบรสต์และเรือPrinz Eugenก็ติดตามเข้ามาด้วย

พอฝ่ายสัมพันธมิตรรู้ข่าวก็ได้ส่งฝูงบินเข้ามาปูพรมทิ้งระเบิดทุกค่ำคืน แต่เรือรบของเยอรมันก็ไม่ได้รับความเสียหายเท่าไหร่ แต่ฮิตเลอร์นั้นต้องการให้เรือทั้ง 3ลำนี้ ไปประจำการที่นอร์เวย์เพื่อป้องกันการบุกนอร์เวย์ แต่ทางฝ่าย พลเอกเรเด้อร์ผู้บัญชาการทหารเรือเยอรมันไม่เห็นด้วย เพราะต้องการให้เรือทั้ง 3นี้ไปรังควานเรือข้าศึกที่มหาสมุทรแอตแลนติกเพราะเห็นเป็นประโยชน์มากกว่า แต่ฮิตเลอร์ไม่เห็นด้วยเพราะการเสียบิสมาร์คไปทำให้ฮิตเลอร์ไม่อยากเสียเรือรบขนาดหนักอีก และเรือรบทั้ง 3 ลำนี้จอดเทียบท่าอยู่ 8 เดือน และโดนฝูงบินมาถล่มเกือบ 300 ครั้งคิดเป็นน้ำหนักระเบิดถึง 4,000ตันแล้ว การเดินทางไปนอร์เวย์ถ้าเดินทางไปทางเหนืออ้อมสก็อตแลนด์ ระยะเดินทางก็อยู่ในรัศมีของเครื่องบินฝ่ายข้าศึกและอาจเผชิญหน้ากับกองเรืออังกฤษที่มีกำลังเหนือกว่าและฝ่ายอังกฤษก็ส่งเครื่องบินลาดตระเวณตรวจดูทางออกอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะทราบความเคลื่อนไหวของกองเรือเยอรมัน หรืออีกทางคือแล่นฝ่าช่องแคบอังกฤษทั้งๆที่เป็นการเสี่ยง แต่การเดินทางที่ข้าศึกนึกไม่ถึงว่าจะกล้าทำ จะทำให้การต่อต้านหย่อนลงไป
ซึ่งฮิตเลอร์ตัดสินใจที่จะใช้วิธีแล่นฝ่าช่องแคบอังกฤษ

ซึ่งแผนการนี้ไม่เคยมีข้าศึกของอังกฤษรายใดที่ทำมาก่อนในรอบ 300 ปี โดยจะเป็นการปฎิบัติงานร่วมกันระหว่างกองทัพเรือเยอรมันและกองทัพอากาศเยอรมันซึ่งการปฏิบัติการนี้เป็นการรักษาความลับอย่างมากแม้กระทั่งระดับผู้ปฏิบัติการยังไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไร โดยเริ่มจากการกวาดทุ่นระเบิดจากเมืองเบรสต์ไปตามชายฝั่งทะเล ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ฮอลแลนด์ไปจนถึงเยอรมันโดยที่เรือกวาดทุ่นระเบิดแล่นสลับเป็นฟันปลาในลักษณะที่สับสน

และกำหนดการเดินเรือคือวันที่ 11 ก.พ. 1942 เวลา 20.00 น.(จอดอยู่ 1ปีเต็ม)โดยประมาณว่าจะถึงช่องแคบอังกฤษประมาณเที่ยงเพราะอังกฤษจะได้ไม่รู้ตัวว่า กองเรือนี้ได้ออกจากฝรั่งเศสตั้งแต่ตอนกลางคืน ซึ่งก่อนหน้านี้ทางเยอรมันได้หาวิธีที่จะก่อกวนเรดาร์ของอังกฤษตามชายฝั่งขัดข้องเป็นระยะสั้นๆ จนอังกฤษชินกับการขัดข้อง แต่เวลา 19.30 ได้มีการทิ่งระเบิดของฝ่ายอังกฤษอีกครั้งแต่เรือทั้ง 3 ไม่ได้รับความเสียหาย แต่ทำให้การเดินทางล่าช้าไป 2 ช.ม.แต่ได้เร่งความเร็วเพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป ซึ่งกองเรือที่แล่นผ่านช่องแคบอังกฤษนี้นอกจากเรือทั้ง 3ลำแล้วยังมีเรือคุ้มกันซึ่งประกอบด้วยเรือพิฆาต,เรือกวาดทุ่นระเบิด,เรือตอร์ปิโดร์(เรือE) รวมกันแล้วกว่า 60 ลำ
และในเวลา 10.50 เครื่องบินลาดตระเวณของอังกฤษได้ตรวจพบกองเรือนี้และเวลา 11.15 น.กองเรือเยอรมันได้แล่นฝ่าทุ่งระเบิด ซึ่งตอนแรกในลอนดอนพอได้รับรายงานนี้ก็ยังไม่ได้สนใจเท่าที่ควรเพราะมุ่งแต่สนใจในเรื่องความขัดขีช้องของเรดาร์ แต่เวลา 12.18 อังกฤษเริ่มไหวตัว ปืนใหญ่โดเวอร์เริ่มยิงแต่กองเรือเยอรมันได้พ้นรัศมีของปืนแล้ว

ทางอังกฤษได้ส่งเรือตอร์ปิโดร์เข้าต่อสู้แต่ไม่เป็นผลและตามด้วยเครื่องบินชอร์ดฟิชจำนวน 6ลำซึ่งติดตอร์ปิโดร์เข้าโจมตีโดยมีเครื่องบินสปิทไฟร์คุ้มกัน ซึ่งเครื่อง ชอร์ฟิชทั้ง 6 ลำถูกยิงตกหมด โดยมี น.ต. ยูจีน เอชมอนด์ ซึ่งเคยเป็นผู้ปล่อยตอร์ปิโดร์ถูกหางเสือเรือบิสมาร์คอยู่ด้วย และ น.ต.ยูจีนได้เสียชีวิตลงด้วย ซึ่งตอนนั้นทางฝ่ายเยอรมันได้มีฝูงบิน ME-109 เข้ามาคุ้มกันด้วย หลังจากนั้นได้มีเครื่องบินและเรือตอร์ปิโดร์ของฝ่ายอังกฤษเข้ามาโจมตีแต่ไม่เป็นผลและฝ่ายอังกฤษได้สูญเสียเครื่องบินเป็นจำนวนมาก จนเวลา 14.00 กองเรือเยอรมันก็ได้ผ่านพ้นบริเวณที่อันตรายที่สุดแต่ฝ่ายอังกฤษยังเข้าโจมตีอยู่เป็นระยะ เวลา 15.17 กองเรือพิฆาตของอังกฤษได้เข้ามาโจมตีแต่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก จนเรือพิฆาตวูสเตอร์แทบจะจมลง แล้วกองเรือพิฆาตของอังกฤษก็ล่าถอย เวลา 15.28บริเวณชายฝั่งฮอลแลนด์เรือSharnhors ซึ่งแล่นนำหน้าก็ชนทุ่นระเบิดจนเครื่องดับแต่อีก 20 นาทีต่อมาหลังจากซ่อมแซม เรือได้กลับมาแล่นได้ตามเดิมแต่ยังถูกเครื่องบินของอังกฤษเข้าโจมตีแต่ไม่เป็นผลเพราะการคุ้มกันทางอากาศและการยิงอย่างแม่นยำของ ปตอ.ประจำเรือ จนเวลา 18.15 เครื่องบินของอังกฤษได้เลิกจากการโจมตีและอีก 10 นาทีต่อมาฝูงบินของเยอรมันที่ได้ทำการคุ้มกันก็กลับสู่สนามบินที่เบลเยี่ยมและฝรั่งเศส แต่เวลา 19.55เรือGneisenau ก็ชนทุ่นระเบิดบ้างแต่ได้รับการซ่อมแซม และในที่สุดหลังเที่ยงคืนก็ได้เข้าสู่อ่าวเฮลิโกลันทและได้เข้าจอดเทียบท่าตอนเช้าซึ่งตามมาด้วยเรือPrinz Eugen ส่วนเรือSharnhors เวลา 22.29ก็ชนทุ่นระเบิดอีกครั้งและกว่าจะซ่อมได้เป็นเวลาเที่ยงคืนและได้เข้าไปจอดที่ วิลเฮล์ม ชาเฟ่น

ซึ่งปฏิบัติการครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ความเสียหายฝ่ายเยอรมันน้อยมากและเป็นการกระทำที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนในรอบ 300 ปี

ข้อมูลนี้ส่วนใหญ่ผมจะนำมาจากหนังสือทะเลโหดของคุณ สุรพงษ์ บุนนาค และจากแหล่งข้อมูลอื่นๆมาผสมรวมกันครับ

ป.ล.ในภาพคือเรือPrinz Eugen

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

2 × 3 =