กองทัพเรือ บทความ

ร.ล.จักรีนฤเบศร

ร.ล.จักรีนฤเบศร (H.T.M.S Chakri Naruebet)  CVH-911  แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี

ภารกิจในยามสงบ

1.คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

2.ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางทะเล

3.อพยพประชาชนออกนอกพื้นที่วิกฤติด้วยเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ

4.ปฏิบัติการควบคุมและรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง

ภารกิจในยามสงคราม  เป็นเรือธง  หมายถึงเรือที่ทำหน้าที่ควบคุมและบังคับบัญชากองเรือในทะเล

อากาศยานประจำเรือ สามารถรองรับการขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางและบรรทุกไปกับเรือได้จำนวน 10 ลำ หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่งแบบ Harrier ได้ 10 ลำ

 

เรือลำนี้ออกแบบให้มีความคงทนที่สามารถที่จะรับคลื่นในระดับที่ 9 ( Sea Sate 9) คือรับความสูงของคลื่นได้ 13.8 เมตร ความเร็วลม 115 กิโมเมตร/ช.ม.ขึ้นไป

ลำดับความเป็นมาของ ร.ล.จักรีนฤเบศร

-17 มี.ค. 35 มีมติ ครม.ในขณะนั้นให้กองทัพเรือว่าจ้างอู่ต่อเรือ บาซัน ในประเทศสเปนให้สร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ในลักษณะรัฐต่อรัฐ จำนวน 1 ลำ ในวงเงิน 7,100 ล้านบาท และผู้บัญชาการทหารเรือในขณะนั้น พล.ร.อ. วิเชษฐ การุณยวนิช  ผบ.ทร.ในขณะนั้นได้ลงนามในสัญญาจ้างในการสร้างต่อเรือ เมื่อ 27 มี.ค.35

-2 ต.ค.35 ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ว่่า        เรือหลวงจักรีนฤเบศร

-12 ก.ค.37 พล.ร.อ.  ประเจตน์ ศิริเดช ผบ.ทร. ในขณะนั้น ประกอบพิธีวางกระดูกงู  ที่ประเทศสเปน

-20 ม.ค.39 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์สมเด็จพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯทรงประกอบพิธีปล่อยเรือลงน้ำที่บริษัท บาซาน เมืองเฟโรล ประทเศสเปน

-20 มี.ค.40 พล.ร.อ.วิจิตร ขำนาญการ ผบ.ทร.ในขณะนั้น รับมอบเรือและขึ้นระวางเรือ

-1 ก.ค. 40 ร.ล.จักรีนฤเบศรออกเดินทางจากประเทศสเปน

-4 ส.ค. 40 ร.ล.จักรีนฤเบศรเข้าสู่น่านน้ำประเทศไทยที่จังหวัดภูเก็ต

-10 ส.ค. 40 มีพิธีต้อนรับ ร..ล.จักรีนฤเบศร ที่สัตหีบ

ซึ่งการเดินทางกลับของ ร.ล.จักรีนฤเบศรนั้นทางกองทัพเรือในตอนนั้นได้มีการจัดหมู่เรือ คุ้มกันและฝึกนักเรียนนายเรือซึ่งประกอบด้วย

ร.ล.นเรศวร

 

 

และร.ล. กระบุรี

 

ออกเดินทางไปรับร.ล.จักรีนฤเบศร จากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 13พ.ค.-28 มิ.ย. 2540 โดยใช้เส้นทางเดินเรือจากประเทศไทยและผ่านประเทศเหล่านี้ สิงคโปร์,อินเดีย,ซาอุดิอาระเบีย,กริซ,อิตาลี,ฝรั่งเศสและสเปน รวมใช้เวลา 49 วัน

ส่วนขากลับนั้นจัดเป็นหมวดเรือเฉพาะกิจที่ 401 ซึ่งประกอบด้วย ร.ล.จักรีนฤเบศร,ร.ล.นเรศวร,ร.ล.กระบุรี โดยเส้นทางขากลับนั้นเริ่มต้นจากประเทศสเปน,อิตาลี,อียิปต์,ซาอุดิอาระเบีย,อินเดียและเข้าสู่ประเทศไทย

 

ป.ล.หมายเลขประจำเครื่องของเครื่อง TAV-8และAV-8 นั้นเป็นหมายเลข 3101-3109 โดยที่เครื่อง TAV-8 จะเป็นหมายเลข 3101และ3102

Facebook Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

13 − five =